Mathematic Experiences Management for Early Childhood
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เกี่ยวกับฉัน
วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2556
วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
ค้นคว้าเพิ่มเติม งานวิจัยเรื่องผลงานวิจัยการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้วิธีการสอนแบบเล่น-เรียน-สรุป-ฝึกทักษะ
ผลงานวิจัยการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้วิธีการสอนแบบเล่น-เรียน-สรุป-ฝึกทักษะ"
สรุปงานวิจัย
ผลของการจัดกิจกรรมโดยใช้วิธีการสอนแบบเล่น-เรียน-สรุป-ฝึกทักษะ พบว่านักเรียนมีความสนใจ และมีความตั้งใจ มีความกระตือรือร้นในกิจกรรมการเรียน นักเรียนมีความสนใจในกิจกรรมที่ผู้ศึกษานำมาใช้ นักเรียนส่วนมากสามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้ดี ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มเป็นอย่างดี นักเรียนส่วนมากอาสาสมัครออกมาทำกิจกรรมหน้าชั้นเรียนด้วยตนเอง สามารถใช้การสังเกต และการสนทนาซักถาม สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ดี มีน้ำใจช่วยเหลือเพื่อนขณะปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ กิจกรรมกลุ่ม รวมทั้งการทำแบบฝึกทักษะปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และช่วยกันเก็บวัสดุอุปกรณ์หลังเลิกเล่นส่งครูทุกคน แม้ในช่วงแรกจะยังต้องให้ครูคอยเตือนแต่หลังจากนั้นนักเรียนก็สามารถทำได้ดีขึ้น และเป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ถือว่าประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมาก
ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยชิ้นนี้
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุ 3 – 5 ปี เป็นการจัดการศึกษาในลักษณะของการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษา
เด็กจะได้รับการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา ตามวัยและความสามารถของแต่ละบุคคล
เด็กจะได้รับการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา ตามวัยและความสามารถของแต่ละบุคคล
การจัดประสบการณ์
การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยอายุ 3 – 5 ปี จะไม่จัดเป็นรายวิชาแต่จัดในรูปของกิจกรรมบูรณาการผ่านการเล่น เพื่อให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงเกิดความรู้ ทักษะคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งเกิดการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา โดยมีหลักการ และแนวทางการจัดประสบการณ์ ดังนี้
หลักการจัดประสบการณ์
1 จัดประสบการณ์การเล่นและการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กโดยองค์รวมอย่างต่อเนื่อง
1 จัดประสบการณ์การเล่นและการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กโดยองค์รวมอย่างต่อเนื่อง
2 เน้นเด็กเป็นสำคัญ สนองความต้องการ ความสนใจ ความแตกต่าง ระหว่างบุคคล และบริบทของสังคมที่เด็กอาศัยอยู่
3 จัดให้เด็กได้รับการพัฒนาโดยให้ความสำคัญทั้งกับกระบวนการและผลผลิต
4 จัดการประเมินพัฒนาการให้เป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่อง และเป็นส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์
5 ให้ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก
การเขียนแผนการจัดประสบการณ์
การสอนในระดับปฐมวัยนั้นไม่สอนเป็นรายวิชา แต่จัดในรูปแบบกิจกรรมบูรณาการให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการเล่น ดังนั้นการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้พัฒนาครบทุกด้านบรรลุจุดหมายตามหลักสูตรนั้น ผู้สอนจำเป็นต้องวางแผนการจัดประสบการณ์ และรู้หลักการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ เพื่อเป็นแนวในการปฏิบัติจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความหมายของการสอนแบบเล่น เรียน สรุป ฝึกทักษะ
การสอนแบบเล่น เรียน สรุป ฝึกทักษะ เป็นวิธีการสอนที่เปิดโอกาสให้นักเรียนเล่น เพื่อให้รู้จักได้สังเกต และศึกษาลายละเอียดของเนื้อหา ในแง่ของความคิดรวบยอดหลักการ และวิธีการคิดให้นักเรียนสรุป มีความคิดรวบยอด หลักการวิธีคิด โดยวิธีลัดได้ด้วยตนเอง แล้วให้นักเรียนฝึกทักษะกาคิดคำนวณ มีการวัดและประเมินผลการเรียนของนักเรียนว่าบรรจุจุดประสงค์หรือไม่
ความหมายของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ความหมายของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้น เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หรือประสบการณ์ที่ครูผู้สอนจัดให้แก่เด็ก ซึ่งนอกจากจะอาศัยสถานการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กเพื่อส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์แล้วยังต้องอาศัยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีการวางแผน และเตรียมการอย่างดีจากครูผู้สอนอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้การค้นคว้า การแก้ปัญหา การพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ มีทักษะ และมีความรู้ทางคณิตศาสตร์ ที่จะเป็นพื้นฐานสำคัญ สำหรับการศึกษาที่สูงขึ้น และเด็กสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันต่อไปได้
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ
สร้างแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้วิธีการสอนแบบเล่น-เรียน-สรุป-ฝึกทักษะ และศึกษาผลการใช้แผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้วิธีการสอนแบบเล่น-เรียน-สรุป-ฝึกทักษะ
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นอนุบาล 1 โรงเรียนบ้านทุ่งหัวช้าง สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการศึกษาประกอบด้วย แผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 13 แผน และใช้เวลาแผนละ 60 นาที แบบทดสอบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจำนวน 10 ข้อ และแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนโดยรวม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าร้อยละแล้วเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และนำเสนอในรูปตารางประกอบการบรรยาย ส่วนการสังเกตพฤติกรรม วิเคราะห์โดยการสรุปและบรรยาย
วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
สัปดาห์ที่ 16 ( 15 กุมภาพันธ์ 56 )
- วันนี้เป็นสัปดาห์ สุดท้ายของการเรียนการสอนในภาคเรียน 2/2556
- อาจารย์นำผลงานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยมาให้นักศึกษามาดูเป็นตัวอย่าง เช่น การแปรงฟัน ในการนำเสนอผ่านทั้ง 5 สาระการเรียนรู้ตามมาตรฐานคณิตศาสตร์
อาจารย์ยกตัวอย่าง การประดิษฐ์ลวดลายเรขาคณิตศาสตร์
- การเรียงลำดับเหตุการณ์ ของการแปรงฟัน
- รูปทรงเรขาคณิต จากการประดิษฐ์แกนทิชชู
- การดัดลวดกำมะหยีเป็นรูปดอกไม้
- การวาดภาพรูปตามความน่าจะเป็น
- การใช้คณิตศาสตร์มาประกอบการวาดรูปทรงต่อกันเพื่อให้เป็นอีกรูปหนึ่งการดูรูปทรงข้างหน้าเพื่อเป็นแบบอย่าง..
- จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอการสอบสอน ที่ยังไม่สอบ
ออกมานำเสนอมาหน่วยของกลุ่มตัวเอง
กลุ่มที่ 1 สาธิตการสอบสอน หน่วยข้าว
กลุ่มที่ 2 สาธิตการสอบสอน หน่วยผลไม้ ( กลุ่มข้าพเจ้าเอง )
วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
สัปดาห์ที่ 15 ( 8 กุมภาพันธ์ 2556 )
- การเรียนการสอนกลุ่มที่ 1( ไข่ ) ออกไปนำเสนอการสอนที่ต้องแก้ไขคือเปลี่ยนคำถามให้เด็กตื่นเต้นสนใจ การกะประมาณจากปริมาตรที่มีอยู่ เรีบงไขใส่ลังไข่
- กลุ่มที่ 2 ( ผลไม้ ) ถามเด็กๆรู้จักผลไม้อะไรบ้าง เขียนบันทึกให้เด็กรู้เรื่องภาษาให้เด็กได้ประสบการณ์ทางภาษา การแบ่งความรู้ เด็กๆคิดว่ามีอะไรอยู่ในตะกร้าปิดตะกร้าอย่าเพิ่งให้เด็กๆเห็นเด็กจะได้สนใจ นับผลไม้ที่มีทั้งหมด ตัวสุดท้ายจะเป็นตัวบอกจำนวน แบ่งผลไม้ที่มีสีแดงมีทั้งหมดกี่ผล ผลไม้อะไรที่ไม่มีสีแดงมีทั้งหมดเท่าไร ดูรูปทรง ดมกลิ่น และสี
- กลุ่มที่ 1 ออกมานำเสนอใหม่ สรุปนิทานเป็นเรื่องราว แต่งเป็นนิทานหรือทำเป็นหุ่นหรือสรุปจากเด็กแล้วทำเป็น MyMap
- อาทิตย์หน้า กลุ่มที่เหลือออกไปนำเสนอแผนการจัดกิจกรรม
วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556
สัปดาห์ 13 ( 25 มกราคม 2556 )
- อาจารย์จ๋าสอนมาตรฐานคณิตศาสตร์ แยกออกเป็นเช่น จำนวนและการดำเนินการ การรวมและการแยกกลุ่ม
- อาจารย์จ๋ายกตัวอย่าง My mapping เรื่องไข่
1. เรื่องง่ายๆที่เด็ํกทำได้
2. เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก
3. เหมาสมกับวัยของเด็ก
4. มีประโยชน์กับเด็ก
5. เด็กรู้จัก
6. เสริมสร้างพัฒนาการ
7. มีความสำคัญกับเด็ก
8. คำนึงถึงผลกระทบ
- ครูสามารถบูราณาการเรื่องของไข่เข้ามาสอนเด็กได้ในวันจันทร์ - วันศุกร์
การบ้าน
ทำ My mapping เรื่องเกณฑ์และตัวชี้วัดคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ส่งสัปดาห์หน้า
วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)